สภาพทั่วไป |
|
ที่ตั้ง |
|
เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 3 บางส่วน และหมู่ที่
4 บางส่วนของตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1.826 ตารางกิโลเมตร
อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครฯ มาทางทิศเหนือประมาณ
250 กิโลเมตร และระยะทางติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ |
|
จังหวัดนครสวรรค์ |
ระยะทางประมาณ
50 กิโลเมตร |
จังหวัดอุทัยธานี |
ระยะทางประมาณ
10 กิโลเมตร |
|
|
อาณาเขตติดต่อ |
|
เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
มีอาณาเขตติดต่อพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ |
|
ทิศเหนือ |
ติดกับ |
อบต.วัดโคก
อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
ทิศใต้ |
ติดกับ |
เทศบาลตำบลมโนรมย์ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
ทิศตะวันออก |
ติดกับ |
เทศบาลตำบลมโนรมย์
อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท |
ทิศตะวันตก |
ติดกับ |
แม่น้ำเจ้าพระยา
และจังหวัดอุทัยธานี |
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
รูปร่างของพื้นที่มีลักษณะแคบยาวตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาจากเหนือสู่ใต้
มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญทั้งการอุปโภคและบริโภค
ประสบกับภาวะน้ำท่วมบ้างเป็นบางฤดูกาล |
|
ลักษณะภูมิอากาศ |
|
อำเภอมโนรมย์
โดยทั่วไปภูมิอากาศคล้ายกับจังหวัดใกล้เคียงในภาคกลางอยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่านประจำฤดู ทำให้แบ่งฤดูกาลออกได้
3 ฤดู |
|
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทย ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือเป็นลำดับในระยะนี้ ทำให้มีฝนตกชุกขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปี และเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง |
|
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน ที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงนี้ แต่เนื่องจากจังหวัดชัยนาทอยู่ในภาคกลาง อิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่แผ่ลงมาปกคลุมในช่วงฤดูหนาวจะช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าสองภาคดังกล่าว โดยเริ่มมีอากาศหนาวเย็นประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งอากาศหนาวที่สุดจะอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม และมกราคม |
|
ฤดูร้อน
เริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลง คือประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงว่างจากลมมรสุม ลมที่พัดปกคลุมจะเปลี่ยนเป็นลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้ และจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน |
|
|
|